วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
Car GURUSpecial Report

สาเหตุที่ทำให้กระจกรถยนต์ระเบิด “แตก – ร้าว” เองได้ และแนวทางป้องกัน

บ่อยครั้งเราจะเห็นผู้ใช้รถมาโพสต์ถามว่า เหตุใดกระจกถึงแตกหรือระเบิดเองได้ ก็จะมีเพื่อนๆ เข้ามาวิเคราะห์และคาดเดา บ้างก็ชี้หรือวงจุดให้ดูว่า โดนหินจากจุดนั้นจุดนี้แน่ๆ คือการที่กระจกรถยนต์ระเบิดมันก็จะต้องมีจุดเริ่มต้นของการระเบิดแน่นอน แต่โดยมากไม่ได้เกิดจากหิน เพราะกระจกมักจะระเบิดที่บานหลังหรือซันรูฟ

ซึ่งบางคนจะเคยมีประสบการณ์น่าพิศวงยิ่งกว่านั้นอีก คือ นั่งอยู่ในบ้านได้ยินเสียง “บึ้ม!” มาจากในห้องอาบน้ำ วิ่งเข้าไปดูพบฉากกั้นห้องอาบน้ำที่เป็นวัสดุกระจกนิรภัย เทมเปอร์กลาส ระเบิด อ้าว! แบบนี้ต้องโดนก่อนหินดีดด้วยหรือไม่?

การที่กระจกรถยนต์แตกนั้นเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น ขับรถอยู่ดีๆ ก็มีเศษหินหรือวัตถุต่างๆ กระเด็นใส่, โดนกระแทกอย่างรุนแรง, หรือ การแตกโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งเราเรียกสาเหตุนี้ว่า “Stress Crack” โดยการระเบิดแบบหลังนั้น จะเกิดได้กับกระจกรถทุกบาน เพราะเป็น Tempered Glass ยกเว้นกระจกบังลมบานหน้าที่เป็น Laminated Glass

“Stress” หรือ “ความเค้น” ในทางวิศวกรรมศาสตร์หมายถึง แรงต้านทานภายในเนื้อวัสดุที่มีต่อแรงภายนอกที่มากระทำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ แต่เนื่องจากความไม่เหมาะสมทางปฏิบัติ เราจึงมักจะพูดถึงความเค้นในรูปของแรงภายนอกที่มากระทำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่

กระจกรถยนต์แตกร้าวเนื่องจากความเค้น (Stress Crack) คือการที่กระจกยนต์รถยนต์ของเราแตกโดยไม่ทราบสาเหตุ แล้วเราจะทราบอย่างไรว่าเป็นการแตกร้าวเนื่องจากความเค้น? สังเกตุง่ายๆ ก็คือ ถ้ากระจกรถยนต์ที่แตกไม่มีร่องรอยของจุดกระทบหรือจุดประทะ นั่นคือการแตกร้าวเนื่องจากความเค้น (Stress Crack)

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิด การแตกร้าวเนื่องจากความเค้น (Stress Crack) คือ

อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลัน – เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุดในการเกิด Stress Crack ตัวอย่างเช่น ระหว่างวันที่อากาศร้อนสูงจัด แล้วเราล้างรถด้วยน้ำเย็น หรือบางกรณีเจอกับฝนตกกระทันหัน ก็จะสามารถทำให้กระจกร้าว/แตกได้ ซึ่งจะเกิดขึ้นแบบเดียวกับการที่เราเอาน้ำร้อนเทใส่กระจกรถยนต์ที่มีน้ำแข็งเกาะอยู่ (ในประเทศที่อุณหภูมิหนาวจัด)

อย่างไรก็ตาม กรณีกระจกรถยนต์แตกหรือบานกระจกนิรภัย หรือ เทมเปอร์ แตกหรือระเบิด จากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันนั้น เกิดบ่อยครั้งในประเทศไทย (โดยจะระเบิดแตกที่กระจกบานหลังที่เป็นเทมเปอร์ ในส่วนบานหน้าเป็นกระจกแบบลามิเนต) แนวทางป้องกันสามารถทำได้ด้วยการจอดรถในที่ร่ม หรือเมื่อจำเป็นต้องจอดตากแดดให้ลดกระจกลงเล็กน้อยเพื่อถ่ายเทความร้อนสะสมภายในรถ แต่เหนือสิ่งอื่นใดการถ่ายเทความร้อนสะสมที่กระจกเป็นเรื่องสำคัญ เพราะฝนหลงฤดูอาจตกลงมาเมื่อใดก็ได้แม้ในวันที่ฟ้าใสแดดแรง การติดฟิล์มที่มีเทคโนโลยีถ่ายเทความร้อนเป็นแนวทางที่ควรลงทุน

แรงดันเปลี่ยนแปลง – แรงดันเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงแรงดันลม สามารถทำให้เกิด stress cracks ได้  ยกตัวอย่างเช่น การระเบิดทำให้เกิดคลื่นกระแทก (shockwaves) ซึ่งเปลี่ยนแรงดันในชั้นบรรยากาศในวงกว้างอย่างเฉียบพลัน ทำให้กระจกของรถยนต์ที่จอดอยู่ในระยะห่างหลายกิโลเมตรสามารถแตกหรือร้าวได้

ฉะนั้น ควรหลีกเลี่ยงการจอดรถในพื้นที่เสี่ยงกับการระเบิด อาทิ เหมือง การทำลายตึก การซ้อมรบ หรือฐานปล่อยจรวด แม้แต่การจอดรถใกล้กับรันเวย์หรือสนามฝึกซ้อมเครื่องบินขับไล่ที่มีการระเบิดของคลื่นเสียง อาทิ โซนิคบูม

โครงสร้างที่ไม่แข็งแรง / จุดบกพร่องจากการประกอบ – กระจกบังลมของรถยนต์มีหน้าที่สำคัญอย่างมากต่อระบบความปลอดภัยของรถยนต์ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการรองรับน้ำหนักของหลังคาเมื่อรถเกิดการพลิกคว่ำ  อีกหนึ่งหน้าที่ก็คือการหันเหทิศทางของถุงลมนิรภัยด้านข้างขณะที่ถูกปล่อยออกมา  ดังนั้นกระจกบังลมจึงต้องถูกติดตั้งอย่างแน่นหนา ทำให้สามารถเกิดแรงดันที่ไม่เท่ากันได้ ซึ่งเป็นขอบกพร้องจากทางผู้ผลิต  ตัวอย่างเช่น  เมื่อกระจกถูกหลอมให้อ่อนตัวแล้วทำให้เย็นลงในระหว่างขั้นตอนการผลิต  “Residual Stresses” หรือ ความเค้นตกค้าง¹ ก็มักจะพบได้ที่ขอบกระจก  จะทำให้ขอบกระจกเป็นจุดที่บอบบางมากที่สุด และสามารถทำให้เกิดการแรงร้านได้ในที่สุด

¹ความเค้นตกค้าง คือ สิ่งที่ตกค้างอยู่ เป็นสาเหตุเริ่มต้นของการเกิดความเค้นทั้งหมด (จากแรงภายนอก, จากการไม่สมดุลของความร้อน) ซึ่งต้องกำจัดออก เป็นความเค้นที่เหลืออยู่ระหว่างพื้นที่หน้าตัดชิ้นงาน แม้ว่าไม่มีความเค้นภายนอกมากระทำ ความเค้นคงเหลือเกิดขึ้นจากหลายเหตุผล รวมทั้งการไม่ยืดหยุ่นให้ชิ้นงานเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง

driveautoblog เรียบเรียง

จริงหรือมั่ว? ชัวร์หรือไม่?

ใส่ความเห็น