ภาพรวมการซื้อรถยนต์ใหม่ในประเทศไทยเริ่มฟื้นตัว เดือนมีนาคม 2559 ทำยอดขายได้ 72,646 คัน และหากย้อนดูยอดขายในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2559 ที่มียอดขายที่ 51,821 คัน และ 57,093 คัน ตามลำดับ คิดเป็นยอดขายรวม ไตรมาส1 ปี 2559 ทำได้รวม 181,560 คัน นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีของเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทย
ทั้งนี้ ลองมาพิจารณาสรุปตัวเลขยอดขายรถยนต์ ที่รายงานโดย “โตโยต้า” โดยมีการเปรียบเทียบให้เห็นการเติบโตต่างๆ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ที่เห็นตัวเลขต่างๆ ติดลบ นั้นเป็นการเปรียบเทียบ เดือน ต่อ เดือน กับปี 2558
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมีนาคม 2559 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 72,646 คัน ลดลง 2.0% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 23,763 คัน ลดลง 21.2% รถเพื่อการพาณิชย์ 48,883 คัน เพิ่มขึ้น 11.2% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 38,915 คัน เพิ่มขึ้น 16.5%
- ประเด็นสำคัญ
- ตลาดรถยนต์เดือนมีนาคม มีปริมาณการขาย 72,646 คัน ลดลง 2.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 21.2% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 11.2% ซึ่งเป็นการเติบโตที่เพิ่มขึ้นของตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 จากความนิยมในรถยนต์รุ่นใหม่ที่ได้แนะนำสู่ตลาดในช่วงที่ผ่านมา หากแต่ยังคงมีการใช้จ่ายที่ลดลงจากภาระหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง
- ตลาดรถยนต์สะสม 3 เดือน มีปริมาณการขาย 181,560 คัน ลดลง 8.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 26.6% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 4.0% แต่เนื่องจากการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของสภาพเศรษฐกิจโดยรวม ส่งผลให้กำลังซื้อยังคงจำกัด
- ตลาดรถยนต์ในเดือนเมษายน แนวโน้มทรงตัว ถึงแม้ว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐในการเร่งเบิกจ่ายและผลักดันการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบกับการผ่อนคลายนโยบายการเงินจะมีส่วนช่วยส่งเสริมการลงทุนในประเทศ แต่อย่างไรก็ตามสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงผันผวน รวมถึงภาวะภัยแล้งที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร ทำให้กำลังซื้อโดยรวมยังไม่สามารถขยายตัวได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้แนวโน้มตลาดรถยนต์ในเดือนเมษายนยังอยู่ในสภาวะทรงตัว
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมีนาคม 2559
- ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 72,646 คัน ลดลง 2.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 21,101 คัน ลดลง 23.1% ส่วนแบ่งตลาด 29.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 13,198 คัน เพิ่มขึ้น 2.0% ส่วนแบ่งตลาด 18.2%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 11,352 คัน เพิ่มขึ้น 8.1% ส่วนแบ่งตลาด 15.6%
- ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 23,763 คัน ลดลง 21.2%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 7,648 คัน เพิ่มขึ้น 4.7% ส่วนแบ่งตลาด 32.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 5,789 คัน ลดลง 56.8% ส่วนแบ่งตลาด 24.4%
อันดับที่ 3 มาสด้า 2,385 คัน เพิ่มขึ้น 49.9% ส่วนแบ่งตลาด 10.0%
- ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 38,915 คัน เพิ่มขึ้น 16.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 14,720 คัน เพิ่มขึ้น 13.6% ส่วนแบ่งตลาด 37.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,835 คัน เพิ่มขึ้น 0.2% ส่วนแบ่งตลาด 30.4%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 5,427 คัน เพิ่มขึ้น 81.9% ส่วนแบ่งตลาด 13.9%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 7,984 คัน
โตโยต้า 4,195 คัน – มิตซูบิชิ 2,938 คัน – ฟอร์ด 585 คัน – อีซูซุ 188 คัน – เชฟโรเลต 78 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 30,931 คัน เพิ่มขึ้น 1.8%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 11,647 คัน เพิ่มขึ้น 9.6% ส่วนแบ่งตลาด 37.7%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 10,525 คัน ลดลง 11.2% ส่วนแบ่งตลาด 34.0%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,597 คัน เพิ่มขึ้น 34.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.4%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 48,883 คัน เพิ่มขึ้น 11.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 15,312 คัน เพิ่มขึ้น 9.0% ส่วนแบ่งตลาด 31.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 13,198 คัน เพิ่มขึ้น 2.0% ส่วนแบ่งตลาด 27.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 5,427 คัน เพิ่มขึ้น 81.9% ส่วนแบ่งตลาด 11.1%
- สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มีนาคม 2559
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 181,560 คัน ลดลง 8.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 50,513 คัน ลดลง 27.9% ส่วนแบ่งตลาด 27.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 36,413 คัน เพิ่มขึ้น 1.4% ส่วนแบ่งตลาด 20.1%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 25,028 คัน ลดลง 14.9% ส่วนแบ่งตลาด 13.8%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 57,973 คัน ลดลง 26.6%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 17,106 คัน ลดลง 20.8% ส่วนแบ่งตลาด 29.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 13,310 คัน ลดลง 57.6% ส่วนแบ่งตลาด 23.0%
อันดับที่ 3 มาสด้า 7,018 คัน เพิ่มขึ้น 43.3% ส่วนแบ่งตลาด12.1%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 99,313 คัน เพิ่มขึ้น 6.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 35,140 คัน ลดลง 1.7% ส่วนแบ่งตลาด 35.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 33,249 คัน เพิ่มขึ้น 0.7% ส่วนแบ่งตลาด 33.5%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 12,500 คัน เพิ่มขึ้น 53.3% ส่วนแบ่งตลาด 12.6%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 17,917 คัน
โตโยต้า 8,841 คัน – มิตซูบิชิ 6,487 คัน – ฟอร์ด 1,364 คัน – อีซูซุ 940 คัน – เชฟโรเลต 285 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 81,396 คัน ลดลง 4.0%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 32,309 คัน เพิ่มขึ้น 8.4% ส่วนแบ่งตลาด 39.7%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 26,299 คัน ลดลง 19.9% ส่วนแบ่งตลาด 32.3%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 6,663 คัน เพิ่มขึ้น 31.3% ส่วนแบ่งตลาด 8.2%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 123,587 คัน เพิ่มขึ้น 4.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 37,203 คัน ลดลง 3.7% ส่วนแบ่งตลาด 30.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 36,413 คัน เพิ่มขึ้น 1.4% ส่วนแบ่งตลาด 29.5%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 12,500 คัน เพิ่มขึ้น 53.3% ส่วนแบ่งตลาด 10.1%